โครงสร้างการบริหารงานกิจการฯ

ผู้บริหารกิจการน้ำพุร้อนสันกำแพงฯ

นายปิยวรรธษ์ บุญโชติ

ผู้จัดการ

นายสมควร วงค์คำแดง

รองผู้จัดการฝ่ายสถานที่

นางธัญญาภรณ์ ใจคำมูล

รองผู้จัดการฝ่ายบริหาร

กิจการน้ำพุร้อนสันกำแพง อ.แม่ออน ตามโครงการพระราชดำริ

เดิมน้ำพุร้อนสันกำแพง เป็นบ่อน้ำพุร้อนตามธรรมชาติที่ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงใช้ต้มพืชผักที่เก็บจากป่าและรักษาโรคผิวหนัง ลักษณะของน้ำพุร้อนสันกำแพง เป็นแบบไกเซอร์คือลักษณะของน้ำใต้ดินที่ได้รับความร้อนจากหินเหลวความร้อนสูงส่งผ่านหินเนื้อแน่นมายังน้ำทำให้น้ำร้อนขึ้นมากๆ จนหาทางแทรกตามรอยแตกร้าวของหินและดันตัวขึ้นมายังดินเป็นน้ำพุร้อน ความสูงของของการพุ่งของน้ำพุร้อนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ทำให้น้ำมีความร้อนขนาดไหน น้ำพุร้อนสันกำแพงมีระดับอุณหภูมิจากใต้ดิน 105 องศาเซลเซียส จึงทำให้พุ่งสูงขึ้นมากกว่า 10 เมตร

  • 2518

    มีโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง ตามพระราชดำริ (ปี 2524 จดทะเบียนเป็นหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง)

  • 2515-2526

    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีโครงการสำรวจเพื่อนำความร้อนใต้พิภพมาผลิตกระแสไฟฟ้าและที่น้ำพุร้อนสันกำแพงก็เป็นแหล่งสำรวจแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการเจาะบ่อลึกลงไปถึง 283 เมตร เพื่อการศึกษาวิจัย ผลที่ได้คือ ที่นี่ความร้อนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แต่ต้นทุนสูงมากไม่คุ้มกับการลงทุน จึงยกเลิกโครงการ

  • 2526

    เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2526 คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประชุมกันมีมติให้ปรับปรุงพื้นที่นี้ ซึ่งมี 75 ไร่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวภายใต้การอำนวยการและบริหารจัด การของคณะกรรมการ 2 ชุด คือ

    • คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพงตามพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่

    • คณะอนุกรรมการบริหารจัดการกิจการน้ำพุร้อนอำเภอสันกำแพง

  • 2527

    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง ร่วมทุนดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการบริหารกิจการน้ำพุร้อนสันกำแพงแม่ออนตามพระราชดำริ

เป้าหมายในการดำเนินงาน

เป้าหมายในการดำเนินงาน

1. เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

2. เพื่อให้เป็นตัวอย่างดำเนินธุรกิจน้ำพุร้อนในประเทศ

3. เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับประชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน

ความเปลี่ยนแปลง และเป้าหมายที่เปลี่ยนไป

1. รูปแบบการท่องเที่ยวแบบMass tourism เป็น Alternative tourism

2. เทคโนโลยีการสื่อสารและเดินทางที่เข้าถึงง่าย สะดวกขึ้น

3. ศักยภาพของพื้นที่กิจการที่ยังสามารถพัฒนาได้อีกมาก

เป้าหมายในอนาคตที่ต้องปรับใหม่

1. ให้บริการนักท่องเที่ยวทุกระดับ รวมทั้งกลุ่มพิเศษ (ผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ฯลฯ)

2. บริหารจัดการที่เป็นสากล ได้มาตรฐาน ให้ความสำคัญกับการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนรักษาสิ่งแวดล้อมและใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียง

3. เน้นคนมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ มีการใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างเหมาะสม

ประโยชน์ต่อชุมชน

1. พนักงานร้อยละ 80 เป็นคนในชุมชนตำบลบ้านสหกรณ์

2. ประชาชนในชุมชน เข้ามาใช้บริการได้ฟรีหลังเวลา เปิด-ปิด บริการ

3. กำไรสุทธิร้อยละ 30 จัดสรรเข้ากองทุนพัฒนาชุมชน และ ร้อยละ15 เข้ากองทุนสวัสดิการชุมชน

4. รับซื้อผลิตภัณฑ์ของสมาชิกสหกรณ์มาจำหน่ายในกิจการฯ เช่น ไข่ ตะกร้าของกลุ่มผู้สูงอายุ

5. จัดซุ้มขายผลิตภัณฑ์และร้านอาหารให้เป็นโควต้าเฉพาะของแต่ละหมู่บ้าน

6. เป็นที่ฝึกปฏิบัติงานของนักเรียน นักศึกษา ซึ่งเป็นลูกหลานของคนในพื้นที่

7. สนับสนุนกิจกรรมของชุมชนและท้องถิ่น